ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ
และเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้สามารถประกอบกิจธุระการงานและดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างสันติสุข และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้
ประสบการณ์จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อพัฒนาความรู้ ความคิดวิเคราะห์ วิจารณ์
และสร้างสรรค์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
ตลอดจนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ยังเป็นสื่อที่แสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรม ประเพณี ชีวทัศน์ โลกทัศน์
และสุนทรียภาพ โดยบันทึกไว้เป็นวรรณคดีและวรรณกรรมอันล้ำค่า ภาษาไทยจึงเป็นสมบัติของชาติที่ควรค่าแก่การเรียนรู้ เพื่ออนุรักษ์และสืบสานให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป
วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
บทอาขยาน
บทอาขยาย คือ บทท่องจำ
ซึ่งการท่องจำบทอาขยานะช่วยทำให้เห็นคุณค่าของภาษาไทย
และได้ข้อคิดที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
มหาชาติหรือมหาเวสสันดรชาดก
พุทธศาสนิกชนชาวไทยนับถือกันมาแต่ครั้งโบราณว่า
มหาเวศสันดรเป็นชาดกที่สำคัญกว่าชาดกเรื่องอื่น
เพราะว่าด้วยเรื่องราวที่ปรากฏบารมีของพระโพธิสัตว์อยู่โดยบนิบูรณ์ทั้ง ๑๐ บารมี
นอกจากนี้ยังมีผู้นำมหาเวสสันดรชาดกไปแต่งเป็นภาษาไทยอีกหลายสำนวน
และใช้คำประพันธ์หลายชนิด เช่น กลอน ฉันท์ กาพย์ ลิลิต และร้อยแก้ว
รวมทั้งยังมีมหาเวสสันดรชาดกที่เป็นภาษาถิ่นอีกหลายฉบับ
มงคลสูตรคำฉันท์
เมื่อ พ.ศ. 2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลที่6
ทรงนำมงคลสูตรมาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทร้อยกรองประเกทคำฉันท์ โดยใช้คำประพันธ์ 2
ชนิด คือกาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์ 11 ทรงนำคาถาภาษาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้ง
แล้วแปลถอดความเป็นร้อยกรองภาษาไทย ได้ถูกต้องตรงตามบังคับในฉันทลักษณ์
โดยไม่เสียเนื้อความจากพระคาถาบาลี
การจัดวางลำดับของมมงคลแต่ละข้อก็เป็นไปตามที่ปรากฏอยู่ในพระคาถาเดิม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจริยภาพทางด้านภาษาได้อย่างดียิ่ง
ผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ลักษณะคำประพันธ์
กาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์11
ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
บทความเรื่อง
ทุกข์ของชาวนาในบทกวี มีที่มาจากหนังสือรวบรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดฯให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ
พ.ศ. 2533 ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ โดย นิสิตคณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประวัติผู้แต่ง
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามราชกุมารี
ทรงประกอบพระราชกรณียกิจหลายประการ ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมร้อยแก้ว ร้อยกรอง
และงานแปล ในงานพระราชนิพนธ์แต่ละเรื่อง พระองค์จะใช้นามแฝงที่แตกต่างกันไป เช่น
ก้อนหิน แว่นแก้ว หนูน้อย เป็นต้น
นอกจากนี้ยังทรงประกอบพระราชกรณียกิจในด้านการศึกษา การพัฒนาสังคม
โดยมีโครงการในพระราชดำริส่วนพระองค์หลายโครงการ
ลักษณะคำประพันธ์
ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
เป็นบทความแสดงความคิดเห็น
ซึ่งเป็นบทความที่มีจุดมุ่งหมายที่จะแสดงความคิดเห็นในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ความคิดเห็นที่มานำเสนอได้มาจากการวิเคราะห์
การใช้วิจารณญาณไตร่ตรองของผู้เขียน โดยผ่านการ สำรวจปัญหา ที่มาของเรื่อง
และข้อมูลต่างๆ
อย่างละเอียดความคิดเห็นที่นำเสนออาจจะเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาตามทัศนะของผู้เขียนหรือการโต้แย้งความคิดเห็นของผู้อื่นมาก่อน
หัวใจชายหนุ่ม
หัวใจชายหนุ่ม
เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า “รามจิตติ” เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “ ดุสิตสมิต” เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๔
ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน ๑๘ ฉบับ
รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด ๑ ปี ๗ เดือน
นิราศนรินทร์คําโคลง
นิราศ
เป็นงานประพันธ์ประเภทหนึ่งของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ
เท่าที่ปรากฏหลักฐานในปัจจุบัน นิราศเรื่องแรกของไทยนั้นคือ โคลงนิราศหริภุญชัย
ซึ่งแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา
นิทานเวตาล เรื่องที่10
นิทานเวตาล
ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย โดยมีชื่อเดิมว่า “เวตาลปัญจวิงศติ” ศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ
ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ
โดยร้อยเอก เซอร์ ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน ก็ได้นำมาแปลและเรียบเรียงแต่งแปลงเป็นสำนวนภาษาของตนเองให้คนอังกฤษอ่าน
แต่ไม่ครบทั้ง 25 เรื่อง กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ได้ทรงแปลนิทานเวตาลจากฉบับของเบอร์ตัน
จำนวน 9 เรื่อง และจากฉบับแปลสำนวนของ ซี. เอช. ทอว์นีย์ อีก 1 เรื่อง
รวมเป็นฉบับภาษาไทยของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ 10 เรื่อง เมื่อ พ.ศ. 2461
นิทานเวตาลเป็นนิทานที่มีลักษณะเป็นนิทานซับซ้อนนิทาน
คือ มีนิทานเรื่องย่อยซ้อนอยู่ในนิทานเรื่องใหญ่
อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง
อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง
อิเหนา เป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องของบทละครลำ
เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีทั้งกลอน ทั้งความ
และทั้งกระบวนการที่ตะเล่นละครประกอบการ และยังเป็นหนังสือที่ดี
ในทางที่ตะศึกษาประเพณีไทยสมัยโบราณ แม้บทละครเรื่องอิเหนาจะมีเค้าโครงมาจากนิทานพื้นเมืองของชาวชวา อิเหนา
เป็นวรรณคดีที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ
ซึ่งชาวชวาได้แต่งขึ้นเอเฉลิมพระเกียรติแด่พระมหากษัตริย์
ชวาพระองค์นี้ทรงนำความเจริญให้แก่ชาวชวา ซึ่งพระองค์เป็นทั้งนักรบ นักปกครอง
และพระองค์ทรงมี พระราชธิดา ๑ พระองค์ และพระราชโอรส ๒ พระองค์
เมื่อพระราชธิดาของพระองค์ได้ทรงเสด็จออกผนวช จึงได้แบ่งราชอาณาจักรเป็น ๒ ส่วน
คือกุเรปัน และ ดาหา
ต่อมาท้าวกุเรปันได้ทรงมีพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง
และท้าวดาหาทรงมีพระราชธิดาพระองค์หนึ่ง ซึ่งทั้งสองพระองค์มีพระนามว่า
อิเหนาและบุษบา เมื่อเจริญพระชันษา
อดีตพระราชธิดาของกษัตริย์พระองค์เดิมที่เสด็จออกผนวช
จึงมีพระดำริให้อิเหนาและบุษบาอภิเษกกัน
เพื่อให้กุเรปันและดาหากลับมารวมกันเป็นราชอาณาจักรเดียวกันดั่งเดิม
เนื่องจากนิทานอิเหนาเป็นเรื่องราวที่ได้รับความนิยมจากชาวชวาเป็นอย่างมาก
เนื้อเรื่องจึงปรากฏเป็นหลายสำนวน และเมื่อได้เข้ามาสู่ประเทศไทย
มีคำกล่าวสืบเนื่องกันมาว่าพระราชิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศกับเจ้าฟ้าสังวาล คือ เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎได้ฟังนิทานอิเหนาจากนางกำนัลชาวมลายูที่ได้มาจากเมืองปัตตานี พระราชธิดาทั้งสองพระองค์จึงมีพระราชธิดาจึงมีพระราชนิพนธ์ขึ้นนิทานเรื่องนี้ขึ้น
เจ้าฟ้ากุณฑลทรงนิพนธ์บทละครเรื่องของดาหลัง
ส่วนเจ้าฟ้ามงกุฎทรงนิพนธ์เป็นละครเรื่อง อิเหนา แต่คนทั่วไปมักเรียกบทพระราชนิพนธ์ของทั้งสองพระองค์นี้ว่า
อิเหนาใหญ่ และอิเหนาเล็ก นิทานปันหยีของไทยจึงมี ๒ สำนวนแต่นั้นมา
สมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชก็ทรงพระราชนิพนธ์บทละคร
อิเหนา ขึ้น โดยยังคงเค้าโครงเรื่องเดิม
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้พระราชนิพนธ์ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด
เนื่องจาก เนื้อความเข้ากันไม่สนิทกับบทเมื่อครั้งกรุงเก่าและนำมาเล่นละครได้ไม่เหมิจึงทรงพระราชนิพนธ์ใหม่ให้สั้นและสอดคล้องกับท่ารำโดยรักษากระบวนการเดิม
แล้วพระราชทานให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ
กรมหลวงพิทักษ์มนตรีซึ่งเชี่ยวชาญในการละคร ได้นำไปประกอบท่ารำและฝึกซ้อมจนเห็นสมควรว่าดี
แล้วจึงรำถวายให้ทอดพระเนตรเพื่อให้มีพระบรมราชวินิจฉัยอีครั้งเป็นอันเสร็จ
วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558
คำนมัสการคุณานุคุณ
คำนมัสการคุณานุคุณ
คำนมัสการคุณานุคุณ ผลงานการประพันธ์ของ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) มีเนื้อหาว่าด้วยการน้อมรำลึกในคุณงามความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา และครูอาจารย์ โดยมีความมุ่งหมายที่จะให้ผู้อ่านโดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทยตั้งอยู่ในความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและนำแบบอย่างอันดีงามไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
ผู้แต่งพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
ลักษณะคำประพันธ์
อินทรวิเชียรฉันท์ 11 กาพย์ฉบัง 16
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
เพื่อปลูกผังคุณธรรมและตระหนักถึงความกตัญญูกตเวที
ความเป็นมา
พระยาศรีสุนทรโวหารได้นำคาถาภาษาบาลีมาแปลและเรียบเรียงแต่งเป็น
บทร้อยกรอง มีสัมผัสคล้องจอง ง่ายต่อการท่องจำ
สามารถพรรณนาความได้อย่างไพเราะจับใจ หากเทียบกับการแปลเป็นความเรียงร้อยแก้วทั่วไป
และถ้าอ่านออกเสียงเป็นทำนองเสนาะหรือสวดด้วยทำนองสรภัญญะ
จะยิ่งเพิ่มความไพเราะของถ้อยคำและความหมายที่จรรโลงจิตใจ
ให้ข้อคิดและคติธรรมเป็นอย่างมาก
"ข้าขอนบชนกคุณ ชนนีเป็นเค้ามูล
ผู้กอบนุกูลพูน ผดุงจวบเจริญวัย
ฟูมฟักทะนุถนอม บ บำราศนิราไกล
แสนยากเท่าไรไร บ คิดยากลำบากกาย
ตรากทนระคนทุกข์ ถนอมเลี้ยง ฤ รู้วาย
ปกป้องซึ่งอันตราย จนได้รอดเป็นกายา
เปรียบหนักชนกคุณ ชนนีคือภูผา
ใหญ่พื้นพสุนธรา ก็ บ เทียบ บ เทียมทัน
เหลือที่จะแทนทด จะสนองคุณานันต์
แท้บูชไนยอัน อุดมเลิศประเสริฐคุณ"
นมัสการพระพุทธคุณ
อินทรวิเชียรฉันท์ 11
องค์ใดพระสัมพุทธ สุวิสุทธสันดาน
ตัดมูลเกลศมาร บมิหม่นมิหมองมัว
หนึ่งในพระทัยท่าน ก็เบิกบานคือดอกบัว
ราคีบพันพัว สุวคนกำจร
องค์ใดประกอบด้วย พระกรุณาดังสาคร
โปรดหมู่ประชากร มละโอฆกันดาร
ชี้ทางบรรเทาทุกข์ และชี้สุขเกษมสานต์
ชี้ทางพระนฤพาน อันพ้นโศกวิโยคภัย
พ้อมเบญจพิธจัก- ษุจรัสวิมลใส
เห็นเหตุที่ใกล้ไกล ก็เจนจบประจักษ์จริง
กำจัดน้ำใจหยาบ สันดานบาปแห่งชายหญิง
สัตว์โลกได้พึ่งพิง มละบาปบำเพ็ญบุญ
ข้อขอประณตน้อม ศิรเกล้าบังคมคุณ
สัมพุทธการุญ- ญภาพนั้นนิรันดร
นมัสการพระธรรมคุณ
กาพย์ฉบัง 16
ธรรมมะคือคุณากร ส่วนชอบสาธร
ดุจดวงประทีปชัชวาล
แห่งองค์พระศาสดาจารย์ ส่องสัตว์สันดาน
สว่างกระจ่างใจมนท์
ธรรมใดนับโดยมรรคผล เป็นแปดพึงยล
และเก้ากับทั้งนฤพาน
สมญาโลกอุดรพิสดาร อันลึกโอฬาร
พิสุทธิ์พิเศษสุกใส
อีกธรรมต้นทางคระไล นามขนานขานไข
ปฏิบัติปริยัติเป็นสอง
คือทางดำเนินดุจคลอง ให้ล่วงลุปอง
ยังโลกอุดรโดยตรง
ข้าขอโอนอ่อนอุตมงค์ นบธรรมจำนง
ด้วยจิตและกายวาจา
นมัสการพระสังฆคุณ
กาพย์ฉบัง 16
สงฆ์ใดสาวกศาสดา รับปฏิบัติมา
แต่องค์สมเด็จภควันต์
เห็นแจ้งจัตุสัจเสร็จบรร- ลุทางที่อัน
ระงับและดับทุกข์ภัย
โดยเสด็จพระผู้ตรัสไตร ปัญญาผ่องใส
สะอาดและปราศมัวหมอง
เหินห่างทางข้าศึกปอง บมิลำพอง
ด้วยกายและวาจาใจ
เป็นเนื้อนาบุญอันไพ- ศาลแด่โลกัย
และเกิดพิบูลย์พูนผล
สมญาเอารสทศพล มีคุณอนนต์
อเนกจะนับเหลือตรา
ข้าขอนบหมู่พระศรา- พกทรงคุณา
นุคุณประดุจรำพัน
ด้วยเดชบุญข้าอภิวันท์ พระไตรรัตน์อัน
อุดมดิเรกนิรัติศัย
จงช่วยขจัดโพยภัย อันตรายใดใด
จงดับและกลับเสื่อมสูญ
นมัสการมาตาปิตุคุณ
อินทรวิเชียรฉันท์ 11
ข้าขอนบชนกคุณ ชนนีเป็นเค้ามูล
ผู้กอบนุกูลพูน ผดุงจวบเจริญวัย
ฟูมฟักทะนุถนอม บ บำราศนิราไกล
แสนยากเท่าไรไร บ คิดยากลำบากกาย
ตรากทนระคนทุกข์ ถนอมเลี้ยง ฤ รู้วาย
ปกป้องซึ่งอันตราย จนได้รอดเป็นกายา
เปรียบหนักชนกคุณ ชนนีคือภูผา
ใหญ่พื้นพสุนธรา ก็ บ เทียบ บ เทียมทัน
เหลือที่จะแทนทด จะสนองคุณานันต์
แท้บูชไนยอัน อุดมเลิศประเสริฐคุณ
นมัสการอาจาริยคุณ
อินทรวิเชียรฉันท์ 11
อนึ่งข้าคำนับน้อม ต่อพระครูผู้การุญ
โอบเอื้อและเจือจุน อนุสาสน์ทุกสิ่งสรรพ์
ยัง บ ทราบก็ได้ทราบ ทั้งบุญบาปทุกสิ่งอัน
ชี้แจงและแบ่งปัน ขยายอัตถ์ให้ชัดเจน
จิตมากด้วยเมตตา และกรุณา บ เอียงเอน
เหมือนท่านมาแกล้งเกณฑ์ ให้ฉลาดและแหลมคม
ขจัดเขลาบรรเทาโม- หะจิตมืดที่งุนงม
กังขา ณ อารมณ์ ก็สว่างกระจ่างใจ
คุณส่วนนี้ควรนับ ถือว่าเลิศ ณ แดนไตร
ควรนึกและตรึกใน จิตน้อมนิยมชม
คำศัพท์
การุญภาพ ตามต้นฉบับสะกดเป็น การุญญภาพ แปลว่า ความเป็นผู้มีความกรุณา
เกลศ เหมือนกับคำว่า กิเลส หมายถึง เครื่องทำใจให้เศร้าหมอง ได้แก่ ความโลภ ความโกรธ และความหลวง
แกล้ง ในที่นี้หมายความว่า ตั้งใจ เป็นความหมายที่ใช้กันในสมัยโบราณ (ดังมีในศิลาจารึกหลักที่ 1) "เหมือนท่านมาแกล้งเกณฑ์ให้ฉลาดและแหลมคม" จึงหมายความว่าครูอาจาย์ตั้งใจให้การศึกษาแก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ และสติปัญญาฉลาดหลักแหลม
จตุสัจ อริยสัจสี่ คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ได้แก่
1. ทุกข์ คือ สภาพที่ทนอยู่ได้ยาก
2. สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์
3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์
4. มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
เบญจพิธจักษุ ดวงตาหรือปัญญาทั้ง 5 อันเป็นคุณสมบัติวิเศษของพระพุทธเจ้า ได้แก่
1. มังสจักษุ หมายถึง ตาเนื้อ คือ มีพระเนตรอันงาม แจ่มใส ไว และเห็นได้ชัดเจน แม้ในระยะไกล
2. ทิพยจักษุ หมายถึง ตาทิตย์ คือ มีพระญาณอันเห็นหมู่สัตว์ผู้เป็นไปด้วยอำนาจกรรม
3. ปัญญาจักษุ หมายถึง ตาแห่งปัญญา คือ ทรงประกอบด้วยพระปัญญาธิคุณอันยิ่งใหญ่ เป็นเหตุให้สามารถตรัสรู้
4. พุทธจักษุ หมายถึง ตาแห่งพระพุทธเจ้า คือ ญาณหยั่งรู้อัธยาศัยและอุปนิสัยแห่งเวไนยสัตว์ แล้วทรงสั่งสอนให้บรรลุคุณวิเศษต่าง ๆ ทำให้พุทธกิจบริบูรณ์
5. สมันตจักษุ หมายถึง ตาเห็นรอบ คือ ทรงประกอบด้วยพระสัพพัญญุตญาณ อันหยั่งรู้ธรรมทุกประการ
ภควันต์ พระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า
มาร ตัวการที่ขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี มี 5 อย่าง เรียกว่า เบญจพิธมาร ได้แก่
1. กิเลสมาร มาร คือ กิเลส
2. ขันธมาร มาร คือ ขันธ์
3. อภิสังขารมาร มาร คือ อภิสังขารที่ปรุงแต่งกรรม
4. เทวบุตรมาร มาร คือ เทพบุตร
5. มัจจุมาร มาร คือ ความตาย
อุตมงค์ ส่วนที่สูงที่สุดของร่างกาย หมายถึง ศีรษะ
เอารสทศพล บุตรของพระพุทธองค์ หมายถึง พระภิกษุ
โอฆ ห้วงน้ำ ในพระพุทธศาสนา หมายถึง กิเลสที่ท่วมทับจิตใจของหมู่สัตว์
คำนมัสการคุณานุคุณ ผลงานการประพันธ์ของ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) มีเนื้อหาว่าด้วยการน้อมรำลึกในคุณงามความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา และครูอาจารย์ โดยมีความมุ่งหมายที่จะให้ผู้อ่านโดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทยตั้งอยู่ในความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและนำแบบอย่างอันดีงามไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
ผู้แต่งพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
ลักษณะคำประพันธ์
อินทรวิเชียรฉันท์ 11 กาพย์ฉบัง 16
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
เพื่อปลูกผังคุณธรรมและตระหนักถึงความกตัญญูกตเวที
ความเป็นมา
พระยาศรีสุนทรโวหารได้นำคาถาภาษาบาลีมาแปลและเรียบเรียงแต่งเป็น
บทร้อยกรอง มีสัมผัสคล้องจอง ง่ายต่อการท่องจำ
สามารถพรรณนาความได้อย่างไพเราะจับใจ หากเทียบกับการแปลเป็นความเรียงร้อยแก้วทั่วไป
และถ้าอ่านออกเสียงเป็นทำนองเสนาะหรือสวดด้วยทำนองสรภัญญะ
จะยิ่งเพิ่มความไพเราะของถ้อยคำและความหมายที่จรรโลงจิตใจ
ให้ข้อคิดและคติธรรมเป็นอย่างมาก
"ข้าขอนบชนกคุณ ชนนีเป็นเค้ามูล
ผู้กอบนุกูลพูน ผดุงจวบเจริญวัย
ฟูมฟักทะนุถนอม บ บำราศนิราไกล
แสนยากเท่าไรไร บ คิดยากลำบากกาย
ตรากทนระคนทุกข์ ถนอมเลี้ยง ฤ รู้วาย
ปกป้องซึ่งอันตราย จนได้รอดเป็นกายา
เปรียบหนักชนกคุณ ชนนีคือภูผา
ใหญ่พื้นพสุนธรา ก็ บ เทียบ บ เทียมทัน
เหลือที่จะแทนทด จะสนองคุณานันต์
แท้บูชไนยอัน อุดมเลิศประเสริฐคุณ"
นมัสการพระพุทธคุณ
อินทรวิเชียรฉันท์ 11
องค์ใดพระสัมพุทธ สุวิสุทธสันดาน
ตัดมูลเกลศมาร บมิหม่นมิหมองมัว
หนึ่งในพระทัยท่าน ก็เบิกบานคือดอกบัว
ราคีบพันพัว สุวคนกำจร
องค์ใดประกอบด้วย พระกรุณาดังสาคร
โปรดหมู่ประชากร มละโอฆกันดาร
ชี้ทางบรรเทาทุกข์ และชี้สุขเกษมสานต์
ชี้ทางพระนฤพาน อันพ้นโศกวิโยคภัย
พ้อมเบญจพิธจัก- ษุจรัสวิมลใส
เห็นเหตุที่ใกล้ไกล ก็เจนจบประจักษ์จริง
กำจัดน้ำใจหยาบ สันดานบาปแห่งชายหญิง
สัตว์โลกได้พึ่งพิง มละบาปบำเพ็ญบุญ
ข้อขอประณตน้อม ศิรเกล้าบังคมคุณ
สัมพุทธการุญ- ญภาพนั้นนิรันดร
นมัสการพระธรรมคุณ
กาพย์ฉบัง 16
ธรรมมะคือคุณากร ส่วนชอบสาธร
ดุจดวงประทีปชัชวาล
แห่งองค์พระศาสดาจารย์ ส่องสัตว์สันดาน
สว่างกระจ่างใจมนท์
ธรรมใดนับโดยมรรคผล เป็นแปดพึงยล
และเก้ากับทั้งนฤพาน
สมญาโลกอุดรพิสดาร อันลึกโอฬาร
พิสุทธิ์พิเศษสุกใส
อีกธรรมต้นทางคระไล นามขนานขานไข
ปฏิบัติปริยัติเป็นสอง
คือทางดำเนินดุจคลอง ให้ล่วงลุปอง
ยังโลกอุดรโดยตรง
ข้าขอโอนอ่อนอุตมงค์ นบธรรมจำนง
ด้วยจิตและกายวาจา
นมัสการพระสังฆคุณ
กาพย์ฉบัง 16
สงฆ์ใดสาวกศาสดา รับปฏิบัติมา
แต่องค์สมเด็จภควันต์
เห็นแจ้งจัตุสัจเสร็จบรร- ลุทางที่อัน
ระงับและดับทุกข์ภัย
โดยเสด็จพระผู้ตรัสไตร ปัญญาผ่องใส
สะอาดและปราศมัวหมอง
เหินห่างทางข้าศึกปอง บมิลำพอง
ด้วยกายและวาจาใจ
เป็นเนื้อนาบุญอันไพ- ศาลแด่โลกัย
และเกิดพิบูลย์พูนผล
สมญาเอารสทศพล มีคุณอนนต์
อเนกจะนับเหลือตรา
ข้าขอนบหมู่พระศรา- พกทรงคุณา
นุคุณประดุจรำพัน
ด้วยเดชบุญข้าอภิวันท์ พระไตรรัตน์อัน
อุดมดิเรกนิรัติศัย
จงช่วยขจัดโพยภัย อันตรายใดใด
จงดับและกลับเสื่อมสูญ
นมัสการมาตาปิตุคุณ
อินทรวิเชียรฉันท์ 11
ข้าขอนบชนกคุณ ชนนีเป็นเค้ามูล
ผู้กอบนุกูลพูน ผดุงจวบเจริญวัย
ฟูมฟักทะนุถนอม บ บำราศนิราไกล
แสนยากเท่าไรไร บ คิดยากลำบากกาย
ตรากทนระคนทุกข์ ถนอมเลี้ยง ฤ รู้วาย
ปกป้องซึ่งอันตราย จนได้รอดเป็นกายา
เปรียบหนักชนกคุณ ชนนีคือภูผา
ใหญ่พื้นพสุนธรา ก็ บ เทียบ บ เทียมทัน
เหลือที่จะแทนทด จะสนองคุณานันต์
แท้บูชไนยอัน อุดมเลิศประเสริฐคุณ
นมัสการอาจาริยคุณ
อินทรวิเชียรฉันท์ 11
อนึ่งข้าคำนับน้อม ต่อพระครูผู้การุญ
โอบเอื้อและเจือจุน อนุสาสน์ทุกสิ่งสรรพ์
ยัง บ ทราบก็ได้ทราบ ทั้งบุญบาปทุกสิ่งอัน
ชี้แจงและแบ่งปัน ขยายอัตถ์ให้ชัดเจน
จิตมากด้วยเมตตา และกรุณา บ เอียงเอน
เหมือนท่านมาแกล้งเกณฑ์ ให้ฉลาดและแหลมคม
ขจัดเขลาบรรเทาโม- หะจิตมืดที่งุนงม
กังขา ณ อารมณ์ ก็สว่างกระจ่างใจ
คุณส่วนนี้ควรนับ ถือว่าเลิศ ณ แดนไตร
ควรนึกและตรึกใน จิตน้อมนิยมชม
คำศัพท์
การุญภาพ ตามต้นฉบับสะกดเป็น การุญญภาพ แปลว่า ความเป็นผู้มีความกรุณา
เกลศ เหมือนกับคำว่า กิเลส หมายถึง เครื่องทำใจให้เศร้าหมอง ได้แก่ ความโลภ ความโกรธ และความหลวง
แกล้ง ในที่นี้หมายความว่า ตั้งใจ เป็นความหมายที่ใช้กันในสมัยโบราณ (ดังมีในศิลาจารึกหลักที่ 1) "เหมือนท่านมาแกล้งเกณฑ์ให้ฉลาดและแหลมคม" จึงหมายความว่าครูอาจาย์ตั้งใจให้การศึกษาแก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ และสติปัญญาฉลาดหลักแหลม
จตุสัจ อริยสัจสี่ คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ได้แก่
1. ทุกข์ คือ สภาพที่ทนอยู่ได้ยาก
2. สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์
3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์
4. มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
เบญจพิธจักษุ ดวงตาหรือปัญญาทั้ง 5 อันเป็นคุณสมบัติวิเศษของพระพุทธเจ้า ได้แก่
1. มังสจักษุ หมายถึง ตาเนื้อ คือ มีพระเนตรอันงาม แจ่มใส ไว และเห็นได้ชัดเจน แม้ในระยะไกล
2. ทิพยจักษุ หมายถึง ตาทิตย์ คือ มีพระญาณอันเห็นหมู่สัตว์ผู้เป็นไปด้วยอำนาจกรรม
3. ปัญญาจักษุ หมายถึง ตาแห่งปัญญา คือ ทรงประกอบด้วยพระปัญญาธิคุณอันยิ่งใหญ่ เป็นเหตุให้สามารถตรัสรู้
4. พุทธจักษุ หมายถึง ตาแห่งพระพุทธเจ้า คือ ญาณหยั่งรู้อัธยาศัยและอุปนิสัยแห่งเวไนยสัตว์ แล้วทรงสั่งสอนให้บรรลุคุณวิเศษต่าง ๆ ทำให้พุทธกิจบริบูรณ์
5. สมันตจักษุ หมายถึง ตาเห็นรอบ คือ ทรงประกอบด้วยพระสัพพัญญุตญาณ อันหยั่งรู้ธรรมทุกประการ
ภควันต์ พระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า
มาร ตัวการที่ขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี มี 5 อย่าง เรียกว่า เบญจพิธมาร ได้แก่
1. กิเลสมาร มาร คือ กิเลส
2. ขันธมาร มาร คือ ขันธ์
3. อภิสังขารมาร มาร คือ อภิสังขารที่ปรุงแต่งกรรม
4. เทวบุตรมาร มาร คือ เทพบุตร
5. มัจจุมาร มาร คือ ความตาย
อุตมงค์ ส่วนที่สูงที่สุดของร่างกาย หมายถึง ศีรษะ
เอารสทศพล บุตรของพระพุทธองค์ หมายถึง พระภิกษุ
โอฆ ห้วงน้ำ ในพระพุทธศาสนา หมายถึง กิเลสที่ท่วมทับจิตใจของหมู่สัตว์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)